มะเร็งรังไข่ ระวังไว้ ภัยเงียบที่สาวๆอาจไม่ทันสังเกต
นอกจาก “มะเร็งเต้านม” และ “มะเร็งปากมดลูก” ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของผู้หญิงแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโรคมะเร็งร้ายที่ผู้หญิงต้องระมัดระวัง นั่นก็คือ “มะเร็งรังไข่” ซึ่งโรคนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดกับผู้หญิงที่อายุมากแล้วเท่านั้น เพราะแม้แต่ในผู้หญิงอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้ และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือมักจะตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะที่สามหรือสี่แล้ว เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เข้ารับการตรวจคัดกรองก่อนมีอาการ
มะเร็งรังไข่คืออะไร?
มะเร็งรังไข่ คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณรังไข่ ซึ่งปกติผู้หญิงจะมีรังไข่อยู่สองข้าง โดยโอกาสที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ทั้งสองข้างพร้อมๆ กันมีประมาณ 25% มะเร็งรังไข่เป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งการเกิดมะเร็งรังไข่แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ- Germ Cell Tumors มะเร็งฟองไข่ที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน มีโอกาสพบได้ 5%
- Epithelium Tumors มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวรังไข่ ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ คือประมาณ 90%
- Sex Cord-Stromal Tumors มะเร็งเนื้อรังไข่ ซึ่งพบได้น้อยมาก
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวสายตรงมีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งนรีเวชอื่นๆ
- ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน
- มีประจำเดือนไวกว่าปกติและหมดช้ากว่าปกติ
- ผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว คืออายุน้อยกว่า 12 ปี
- ผู้ที่หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
- ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก และผู้ที่ต้องใช้ยากระตุ้นการตกไข่
- สตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร
- มีประวัติการรักษาโรคอื่นๆ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูก
อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร
มะเร็งรังไข่ระยะเริ่มต้นอาจจะไม่มีอาการผิดปกติเลย อาการที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์บ่อย ได้แก่ ปวดท้อง อาการท้องโตขึ้นซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากก้อนมะเร็งที่รังไข่หรือเกิดจากท้องมานก็ได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยอาการอื่นๆ แล้วแต่ว่ามะเร็งกระจายไปที่ใด เช่น กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ทำให้ตรวจพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือกระจายไปที่ปอดทำให้ผู้ป่วยมาด้วยอาการไอ เหนื่อยหอบ หรือมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น
มะเร็งรังไข่ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น
- ท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง
- เบื่ออาหาร ทานได้น้อยลง
- ปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีเลือดออกผิดปกติจากทางช่องคลอด
- คลำก้อนเนื้อได้ในท้องน้อย ปวดท้องน้อย
การตรวจมะเร็งรังไข่ จะตรวจได้ด้วยวิธีอะไร ทำไมต้องตรวจ?
มะเร็งรังไข่มักไม่ค่อยแสดงอาการ จึงไม่ค่อยทราบว่าตัวเองเป็น และการตรวจมะเร็งรังไข่เพียงวิธีเดียวอาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเนื้อร้ายมะเร็งหรือไม่ ดังนั้นแพทย์อาจต้องอาศัยการตรวจหลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
- การตรวจภายใน
- การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
- การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scans)
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็ง
- การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)
แนวทางของการรักษาของโรคมะเร็งรังไข่
ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งรังไข่, ตำแหน่ง, ที่อยู่, ความรุนแรงของโรค และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย อีกทั้งขึ้นอยุ่ดุลพินิจของแพทย์ในการรักษา ได้แก่
- การผ่าตัด (Surgery)
- การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- การให้ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy)
- การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone therapy)
ดังนั้นสตรีทุกท่านควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที
สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.กมลพร เชาว์วิวัฒน์กุล แพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวช สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์สตรี โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์สตรี